ครูต๋อย

นางสาวพรรณทิพย์พา ทองมี

เดือนมีนาคม 2554

หลายคนเคยบอกว่าโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก เราต้องทำงานแข่งกับเวลา มี่ชีวิตรีบเร่งทำให้ผู้คนเหนื่อยล้า หากจะเทียบกันแล้วการทำงานแข่งกับเวลาที่ว่าหนัก แต่ทำงานแข่งกับข้างในจิตใจตัวเองยิ่งหนักกว่า.....(เหนื่อยล้า..ก็กลับบ้าน ...กลับมาอยู่กับตัวเอง ตั้งสติ ทบกทวน ใคร่ครวญ หายใจเข้าลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกให้หมดแล้วก็ก้าวต่อ)

คุณแม่ปุณ ป.3 เล่าว่ามีหลายคนถามว่าการตื่นแต่เช้าขับรถทุกวันเพื่อส่งลูกมาเรียนในที่ที่มีความสุข แล้วลูกจะสำลักความสุขไหม ออกไปจะสู่กับกระแสข้างนอกได้หรือเปล่า????



ครูใหญ่เล่าว่า สิ่งที่แรกที่ครูใหญ่ทำคือการตั้งธงเป้าหมาย แต่เป้าหมายนั้นต้องไม่แข็งทื่อ มันจะต้องรวมทั้งเป้าหมายขององค์กรและของแต่ละคน จากนั้นพอเห็นเป้าหมายครูใหญ่จะมีวิธีรู้ว่าครูมีอารมณ์ร่วมหรือยัง ทำทำสองสิ่งได้เราปล่อยเลย ไม่ต้องไปจัดการอะไรกับเขามาก อาจจะโยนสิ่งเร้าลงเป็นช่วงๆ แล้วก็ค่อยมาดูว่าวัฒนธรรมองค์กรที่ดีงามที่เราจะทำร่วมกันไปในทิศทางไหน...

ในแต่ละวันโรงเรียนนอกกะลาต้อนรับผู้ใหญ่ใจดีจากที่ต่างๆ มากมาย การมาของทุกกลุ่มต่างก็อยากได้แรงบัลดาลใจและกลับไปพร้อมกับการมีความหวัง..หลายครั้งที่เด็กๆ ผู้ปกครองและครูถาม "ทำไมเราต้องรับแขกที่มาอบรมดูงานเยอะขนาดนี้" เราจะตอบเขาเหล่านั้นว่ายังไงดี ไม่มีคำอธิบาย รู้แต่เพียงว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่มันคือ ความหวัง....

การสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อไหร่ที่เราหยุดโอกาสเป็นศูนย์ เมื่อไหร่ที่เราทำอย่างต่อเนื่องเรามีโอกาส

ทุกคนมีฝัน หากเรามุ่งมั่นและตั้งใจ ฝันนั้นก็มีโอกาสเป็นจริง และไม่ใช่ความเพ้อฝันอีกต่อไป


สองผู้นำและผู้กุมบังเหียนของสำนักนอกกะลา
คุณเจมส์ คลาร์ค และครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง


ก่อนจะถึงเวลารับประทานอาหารเย็น เราดู "เสียงกู่จากครูใหญ่" ร่วมกับผู้เข้าอบรม เป็นเรื่องที่ดีให้กำลัง ให้แง่คิด และเห็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาเพื่อส่วนรวมจริงๆ
"สร้างศรัทธาไม่สำเร็จทุกอย่างก็ล้มเหลว"
"ความสำเร็จของการพัฒนาอยู่ที่ความร่วมมือ"
"ความลำบากหล่อหลอมให้เข้มแข็ง"
"การทำงานหนักเป็นดอกไม้ของชีวิต"
..."การพัฒนาหรือการสร้างความสำเร็จทำได้ตลอดชีวิตไม่มีวันหมด"
"การศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นไม่ใช่
 

ช่วงนี้เป็นเรื่องของการเรียนรู้กระบวนการออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยโครงงาน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านการปฏิบัติจริง พัฒนาการคิดหลายๆ ระดับ และสูงสุดคือมุ่งสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง (หงานกะลาพัฒนาผู้บริหาร เทศบาลนครขอนแก่น)

การฝึกเด็กทำ Mind mapping เพียงฝึกให้ได้ 3 อย่าง
1. คิดเป็นภาพ เพราะภาพคือ Concept ทั้งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม การคิดเชิงมโนมิติ
2. คิดแนวกว้าง (ทั้งรูปและคำ)จะได้แขนที่เป็นองค์ประกอบ
3. คิดแนวลึก
เมื่อฝึก 3 อย่างแล้วเด็กจะสามารถทำ Mind mapping ได้ ภาพประกอบแต่ละแขนทำให้ครูรู้ว่าหมายถึงอะไร
...Mind mapping เกี่ยวข้องกับการคิดอย่างไร
@ คิดเชิงเหตุผล คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ (กิ่งแก้ว และกิ่งก้อย) คิดเชิงมโนทัศน์ คือแก่นแกน
@ คิดเชิงสร้างสรรค์ จินตนาการ สร้างสรรค์ จะเห็นได้ชัดเจนใน Mind mapping
ซึ่ง Mind mapping มีหลายแบบหลายประเภท


เป้าหมาย ที่แท้จริงของการศึกษา (Place mats : เครื่องมือกระตุ้นคิด) ใช้ได้กับครู และครูใช้กับเด็กได้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกัน เด็กควรได้เรียนรู้กับคนอื่น เป็นการทำให้เกิดภราดรภาพ ก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงในโรงเรียน


นามสกุลนอกกะลาเปี่ยมด้วยคุณภาพจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนนอกกะลา ครูใหญ่นอกกะลา ครูนอกกะลา หนังสือโรงเรียนนอกกะลา นักเรียนนอกกะลา ผู้ปกครองนอกกะลา กัลยาณมิตรนอกกะลา ร่วมทั้งกบนอกกะลา
 

พี่โชค นักเรียน ป.3 กำลังอธิบายชิ้นงานที่ผู้ใหญ่ใจดีทำว่าเขาเห็นอะไร และทายว่าเป็นเดือนไหนในสิบสองเดือน พร้อมให้เหตุผล นี้คือวิธีการเรียนรู้ของลำปลายมาศพัฒนา กลุ่มที่ 1 คือคนทำ (ได้โจทย์หรือสิ่งเร้า ช่วยกันสร้างหรือสื่อออกมาให้ตรงกับโจทย์) (กลุมที่ 2 คือคนที่ต้องมาทายคำตอบว่าแต่ละกลุ่มทำอะไร) ทุกคนต่างก็ได้คิด ทั้งคนที่ทำ และคนที่มาทายหรืออธิบาย แม้จะไม่ได้ทำแต่คิดมากพอๆ กับคนทำ

"ของว่างเช้าวันนี้เด็กดีรับประทาน ผลไม้แตงโมและมะไฟหวานๆ ค่ะ" ทุกๆ เช้าจะได้ยินเสียงดังแว่วๆ มาจากห้องเรียนอนุบาล เด็กต่างพากันขอบคุณพี่อาหารว่างที่ให้เราได้รับประทาน..ขอบคุณทุกสรรพสิ่ง ตัวเราจะได้เล็ก

ชาติใดไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล แม้ชาติย่อยยับอับจน บุคคลจะสุขอยู่อย่างไร


โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาหรือโรงเรียนนอกกะลา เป็นโรงเรียนที่ให้คุณค่ากับเด็ก ทุกคน ฝึกให้ทุกคนรู้สึกดีกับตัวเอง รู้สึกดีกับทุกสรรพสิ่ง เห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น ตัวอย่างเช่น เด็กที่นี้ทุกชั้นเรียนจะไม่มีหัวหน้าห้อง แต่เด็กทุกคนสามารถเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีได้ แม้แต่การออกมาชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา เด็กตั้งแต่อนุบาล 1 - ป.6 ทุกคนต้องได้หมุนเเวียนกันออกมาชักธง เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าเขามีคุณค่าเหมือนผู้อื่นและสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เด็กๆ จะเป็นคนกล้าแสดงออกและมีความมั่นใจในตนเอง

มะลิลา และเอ็นถะวา ในโรงเรียนนอกกะลาช่วงนี้กำลังออกดอกส่งกลิ่นหอมสดชื่นทุกๆ เช้า ยิ่งทำให้บรรยากาศอบอุ่น


โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา (โรงเรียนนอกกะลา) คือโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. การศึกษาชาติ คือ การสอนแบบบูรณาการ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง ฯลฯ ภาพบรรยากาศของการเรียนรู้ในวันแรกของการพัฒนาศักยถาพครูเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งสังเกตการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ เครื่องมือคิด การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยโครงงาน ออกแบบการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์แบบโรงเรียนนอกกะลา


คุณครู ผู้ปกครอง เคยถามตัวเองบ้างไหม เราต้องการให้เด็กเป็นนักเก็บความรู้หรือเป็นนักเรียนรู้ แล้วปัจจัยใดที่จะส่งผลให้เด็กๆ เป็นนักเรียนรู้ อาจจะมีหลากหลายวิธี หนึ่งในหลายๆ วิธีโรงเรียนนอกกะลาจะจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ตารางร้อยหน้าอาคารเรียนอนุบาล เพื่อเด็กจะได้คุ้นเคยกับตัวเลข หรือเล่นเกมร่วมกับเพื่อน กับคุณครู เป็นต้น

สายฝนโปรยปราย จับจ่องที่ท้องน้ำ ท้องทะเลไหลสุดลูกหูลูกตารอการได้กลับบ้าน

ในชีวิตของคนทุกคน ก็เคยผ่านร้อนและหนาว ทุกครั้งที่เธอปวดร้าว จนเธอเองลืมนึกไปว่าได้เดินมาไกลเท่าไร..และในวันนี้เธอจงหยัดยืนลุกขึ้นอีกครั้งด้วยพลังในหัวใจ อดทนก้าวไปสู่หนทางที่ฝันใฝ่...

ใจคนที่แท้นั้นยิ่งใหญ่ เมื่อความหวังยังไม่จางหายไ

หลายคนเคยบอก ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่เรามักปิดบังหลบซ้อนความจริง เพื่อให้ตัวเองรอดพ้นจากความตาย


เหนื่อย ต้องบอกใคร??? หนักต้องทำยังไง?? เกิดมาท้อได้ไหม?? ทุกข์ร้องให้ผิดไหม ??? เหงาต้องไปไหน??? อยู่เพื่ออะไร??? ???????ฯลฯ เคยเกิดคำถามเหล่านี้กับต้วเองบ้างไหม




 
เดือนกุมภาพันธ์ 2554


การทำงานชั่วโมงยาวนานไม่ได้หมายถึงคุณภาพหรือประสิทธิภาพเสมอไป


มีหลายคมมักพูดว่าคนที่กล้าเข้าไม่กลัวอะไรเลย...ที่จริงแล้วคนที่กล้าไม่ใช่ไม่กลัว แต่เข้ากล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง...

'' ไม่มีใครรู้ หรือเก่งมาแต่เกิด ไม่มีใครทำถูกเสมอ หรือทำผิดตลอดเวลา ทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ เมื่อผิดพลาดแล้วนำสิ่งที่พลาดมาเป็นบทเรียนแก้ไขพัฒนาให้ตัวเองงอกงาม หากคิดและทำได้เช่นนี้น่าชื่นชมยิ่ง ' 

ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลาจะบอกเสมอว่า
"ไม่มีอะไรที่ดีที่สุด แต่จะมีสิ่งที่ดีกว่าเสมอ" 
"หากเราเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่ทำว่าเป็นไปได้ เชื่อว่าทำได้มันจะเป็นไปได้จริงๆ " คนเรามีศักยภาพมากว่าที่เราคิด เราใช้ศักยภาพของเราไปเพียง 20 % อีก 80 % ยังไม่ถูกปลดปล่อย"

หากองค์กรใดปล่อยให้เกิด Comfort zone (โซนสบาย) จะทำให้องค์กรไม่เกิดการพัฒนา
คือการอยู่กับที่นานๆ ไม่มีสิ่งใหม่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เห็นการเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ในองค์กร เห็นแต่ที่ของตัวเอง โอกาสที่จะแย่ลงมีสูง....

ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่ใครก็เป็นได้ แต่ศิลปินที่ยิ่งใหญ่มาจากที่ใดก็ได้..


ทุกๆ วันเราไม่รู้ว่าต้องสู้กับอะไรต่างๆ มากมายทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น
โดยเฉพาะสู้กับความถูกต้อง และถูกใจ.....บางครั้งก็ทำให้เหนื่อยหน่ายได้เหมือนกัน


ตอนนี้เสียงเด็กๆ เจื่อยแจ้วอยู่ข้างล่าง กำลังเล่นว่าวกันจากการฟังเสียงท่าทางจะสนุกมากๆ


บางอย่างหากเราคิดและทำถูกจุด ถูกจังหวะมันสามารถสั่นสะเทือนได้อย่างแรงและเพิ่มมูลค่าได้หลายเท่า และอาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง


ขงจื๊อกล่าวว่า "มีเพียงคนฉลาดที่สุดและโง่ที่สุดที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง"


เทคโนโลยีทำให้เราสูญเสียความสามารถหลายๆ อย่าง ทั้งศักยภาพด้านความจำโทรศัพท์ช่วยเราจำข้อมูลมากมาย ด้านการคิด (ครื่องติดเลขก็ทำให้เราไม่ต้องใช้สมอง) กลายเป็นคนติดสบาย สักผ้าก็ไม่ต้องตาก ไปไหนก็ไม่ต้องเดิน ออกกำลังกายก็ไม่ต้องวิ่งไปไกลๆ
การใช้เทคโนโลยีพัฒนาปัญญา เป็นคนละเรื่องกับการเป็นทาสของเทคโนโลยี


"ขนาดของความฝันไม่สำคัญเท่ากับการลงมือทำ" คนเราไม่ว่าจะมีความฝันที่เลิศเลอ หรือยิ่งใหญ่แค่ไหน แต่ถ้าไม่คิดจะเริ่มลงมือทำ สุดท้ายสิ่งที่ฝันมันก็จะกลายเป็นแค่ความเพ้อฝัน


ท้ามกลางความสับสน วุ่นวาย เสียงที่พูดออกไปมันช่างเหมือนเรายืนอยู่ไกลเหลือเกิน คงต้องรอ รอเพื่อให้ทุกอย่างสงบ และวิถีมันจะเกิดการไหลลื่นของมันเอง


ถูกต้อง กับถูกใจ ในบางสถานการณ์มันก็ท้าทายตัวตนด้านในของเรา เหมือนเป็นวรรณกรรมตอนหนึ่งที่เราต้องตีความภายใต้การกระทำของตัวละครให้ออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น